วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

โครงการภาพถ่าย 80 วันเพื่อสังคม

ชื่อโครงการ ภาพถ่ายนิทรรศการเพื่อเผยแพร่สู่สังคม
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างสำนึกแห่งจิตสารธารณะ
                        2. เพื่อเสริมสร้างและฝึกทักษะการถ่ายภาพ
   3.เพื่อเผยแพร่ภาพถ่ายเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร ให้แก่นักเรียนที่ไม่มีโอกาสเดินทางมากรุงเทพฯ
   4. เพื่อนำรูปภาพ เผยแพร่สู่สังคม
กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนและโรงเรียนที่ขาดโอกาส ในเขตพื้นที่ประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1
วิธีการดำเนินการ
หลังจากได้รับมอบหมายงานข้าพเจ้าและเพื่อนๆจึงได้ปรึกษาหารือ เนื่องจากได้มีการจัดนิทรรศการ Bangkok that’s it ซึ่งเป็นนิทรรศการภาพถ่ายที่ถ่ายทอดมุมต่างๆ ภายในกรุงเทพฯ ซึ่งนำเสนอมุมมองที่ทุกคนอาจไม่เคยเห็น หรือมุมมองแปลกใหม่ของกรุงเทพ เมื่อจบนิทรรศการนี้แล้วภาพถ่ายจากนิทรรศการก็คงจะถูกเก็บไว้ ซึ่งทำให้ภาพถ่ายนั้นไม่มีประโยชน์ ทางคณะจึงได้ปรึกษากันว่า ภาพจากนิทรรศการจากที่ทุกๆคนได้ไปเก็บภาพของกรุงเทพฯมาแล้ว ก็ควรก็ทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้น และเนื่องจากมีโครงการ 80 days project มารองรับ จึงนำภาพถ่ายที่ได้นำเสนอมุมมองของ กรุงเทพฯ นี้ไปส่งมองให้กับ โรงเรียนที่ขาดโอกาส เพื่อให้เด็กนักเรียนที่ไม่เคยเดินทางมา กรุงเทพฯ ได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ สถาปัตยกรรมต่างๆภายในกรุงเทพ
เมื่อได้ข้อสรุปกันแล้วจึงเริ่มศึกษาและหาข้อมูลของภาพที่จะถ่าย และเก็บภาพต่างๆภาพใน กรุงเทพฯ เมื่อได้ภาพมาก็นำมาคัดเลือกและตกแต่งภาพ โดยใช้โปรแกรม Adobe Lightroom  จากนั้นรวบรวมภาพถ่าย ส่งไปที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษา อุทัยธานี เขต 1 เพื่อให้ทางเขตพื้นที่แจกจ่ายภาพถ่ายให้แก่โรงเรียนต่อไป

ผลที่ได้รับ
          จากการที่ได้ดำเนินโครงการนี้ ทำให้ข้าพเจ้าเป็นคนที่รู้จักจิตรสาธารณะ รู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่น และรูปที่ถ่ายยังเป็นประโยชน์อย่างมากกับเด็กนักเรียน และครู สำหรับใช้เป็นสื่อการสอน ให้นักเรียนที่ไม่มีโอกาสได้เข้ามากรุงเทพฯ ได้เห็นกรุงเทพฯผ่านภาพถ่าย ทำให้ข้าพเจ้ามีความปลาบปลื้ม เป็นอย่างมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ให้ประโยชน์แก่สังคม
ผลสะท้อนจากลุ่มเป้าหมาย

            เขตพื้นที่ประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 ได้รับมอบภาพถ่าย และ จะนำภาพถ่ายไปมอบให้กับโรงเรียนในเขตพื้นที่ต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และให้นักเรียนที่ไม่มีโอกาสได้เห็นการถ่ายทอดเรื่องราวของกรุงเทพฯ ผ่านภาพถ่าย
ภาพถ่าย



งานนิทรรศการภาพถ่าย

ประสบการณ์การเตรียมงาน :                                        
 การจัดนิทรรศการภาพถ่าย "Bangkok, that's it. นี่แหละกรุงเทพฯ" ก่อนได้ลงมือทำงานก็ได้มีการประชุมเพื่อแบ่งฝ่ายต่างๆ เพื่อให้แต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบต่องานของตนเอง การแบ่งฝ่ายก็ตามความสมัครใจและความสามารถของคนแต่ละคน ในการประชุมแต่ละครั้งก็มีการประชุมเพื่อรายงานความคืบหน้าและแจ้งว่าแต่ละฝ่ายต้องทำอะไรบ้างและทุกคนสามารถเสอนความคิดได้ ซึ่งในวันก่อนที่มีการจัดบอร์ดฝ่ายที่รับผิดชอบก็ต้องทำตามหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้จัดบอร์ดได้รวดเร็ว วันจัดบอร์ดทุกคนก็ช่วยกันอย่างเต็มที่ ทำให้งานเสร็จไว


บทเรียนที่ควรปรับปรุง :                        
ในการประชุมแต่ละครั้งจะมีการพูดนอกเหนือจากเรื่องที่ประชุมทำให้การประชุมล่าช้าและทำให้ได้ข้อสรุปช้า และเมื่อเวลามาประชุมบางคนก็มาประชุมช้า

ความรู้สึกที่ได้ในวันเตรียมงาน และ วันแสดงนิทรรศการ :                        
วันเตรียมงาน ทุกๆคน ได้มีการช่วยกันเตรียมงานอย่างเต็มที่ทุกคน คอยดูแลช่วยเหลือกันถึงแม้จะมีการแบ่งฝ่ายการทำงานแต่ทุกๆฝ่ายก็ทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มที่    วันแสดงนิทรรศการ ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการนี้ ที่ทุกคนได้ช่วยกันสร้างขึ้นมา และก็ได้รับเสียงชมจากผู้ที่ได้เข้ามาเยื่ยมชมนิทรรศการก็ทำให้รู้สึกปลาบปลื้มเป็นอย่างมาก ส่วนคำติก็จะนำไปแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาดต่อไป ในวันนิทรรศการก็ได้มีคนสนใจมาชม บางวันก็มากบางวันก็น้อย ก็มีความประทับใจอย่างมากที่ได้มีคนมาเยื่ยมชมนิรรศการ

การนำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในอนาคต :                          
 การจัดนิทรรศการครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีประสบการณ์ ในการเตรียมงาน การทำงานเป็นทีม ซึ่งต่อไปในอนาคตต้องการการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้เราต้องปรับตัวเข้าหาผู้อื่น เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และได้พัฒนาทักษะต่างๆที่ได้ทำมาตั้งแต่การเตรียมงาน ก็สามารถนำประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอื่นๆได้

โครงการภาพถ่ายประกอบการศึกษา

ชื่อโครงการ ภาพถ่ายเพื่อสื่อการสอน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อนำภาพถ่ายที่ได้ ใช้เป็นสื่อการสอน
                   2. เพื่อผลิตสื่อการสอนที่มีประโยชน์ ต่อโรงเรียนที่ยังไม่สื่อการสอน
                   3. เพื่อนำภาพถ่ายที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา
                   4. เพื่อฝึกทักษะและกระบวนการการถ่ายภาพ
กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาชั้นต่างๆ ของโรงวัดโชคเกษม
วิธีการดำเนินการ
 ขั้นการเตรียมการและศึกษาข้อมูล
หลังจากได้รับมอบหมายงานเพื่อถ่ายภาพให้อาจารย์ ข้าพเจ้าจึงติดต่ออาจารย์ผู้สอน วิชา สังคมศึกษา ซึ่งตรงกับเอกที่เรียนอยู่ คือ อาจารย์ ศรีทอง ถือคำ ซึ่งสอนอยู่ที่โรงเรียนวัดโชคเกษม อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งโรงเรียนนี้มีสื่อการสอนไม่มาก ผู้สอนจึงมอบหมายให้ข้าพเจ้าถ่ายภาพ เกี่ยวกับสถานที่สำคัญในชุมชน และ พระพุทธรูปในวัดพระธาตุช่อแฮ มาเป็นภาพประกอบการสอน หลังจากทราบหัวข้อแล้วข้าพเจ้าจึงศึกษาและค้นคว้าการถ่ายภาพและประเภทของภาพที่จะถ่าย
ขั้นดำเนินการ
ข้าพเจ้าได้เดินทางไปถ่ายในสถานที่ส่วนราชการของอำเภอสูงเม่น แต่เป็นวันที่มีเมฆมาก ครึ้มฟ้าครึ้มฝน ทำให้แสงมีไม่มาก ต้องปรับค่า ISO ขึ้น และ เปิดรูรับแสงกว้างขึ้น และ ได้เดินทางไปถ่ายภาพพระพุทธรูปต่อที่สัดพระธาตุช่อแฮ ช่วงเวลานั้นมีผู้คนที่มาสักการะเป็นจำนวนมากและประกอบกับทางวัดได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและองค์พระธาตุ ทำให้ต้องรอจังหวะที่ผู้คนมีไม่มากเพื่อจะได้ภาพถ่าย และต้องหามุมถ่ายภาพที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้ไม่เห็นส่วนที่บูรณปฏิสังขรณ์ และ ต้องนำภาพถ่ายบางส่วนหลังจากถ่ายเสร็จแล้วมาทำการตกแต่งภาพ ในโปรแกรม Adobe Photoshop Lightroom เพื่อทำให้ภาพเห็นรายละเอียดชัดเจน และปรับเพิ่มแสงให้ภาพสว่างขึ้น

ระยะเวลาดำเนินการ เดือน กรกฎาคม-กันยายน 
ผลที่ได้รับ

          ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีทักษะและการบวนการการถ่ายภาพมากขึ้น และยังได้มีการติดต่อกับครูอาจารย์ ทำให้ได้พูดคุยเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอน ว่าสื่อการสอนเป็นประโยชน์สำหรับการใช้ในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก และโรงเรียนมีสื่อการสอนน้อยมาก ซึ่งทำให้ไม่ค่อยได้ใช้สื่อในการสอน และยังทำให้เกิดการะบวนการวางแผนในการทำงาน เพื่อให้งานที่ได้ออกมามีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริง 


ภาพประกอบ

















วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาพถ่ายขาวดำ

ภาพถ่ายขาวดำ โดย ครูกันต์

ปี 1838 Daguerre ถ่ายภาพที่มีคนอยู่ในภาพ เป็นภาพแรกของโลก เรียกว่า Daguerreotype

Photography คือ การเขียนภาพด้วยแสง

Ansal Adam กล่าวว่า ภาพถ่ายแสดงความรู้สึกได้ดีกว่าดนตรี
และ ได้กล่าวไว้ว่า ไม่มีอะไรที่แย่ไปกว่าภาพถ่ายที่คมชัด แต่แนวคิดมัวๆ

ภาพขาวดำจะเด่นในกรณี ภาพขาวบนพ้นดำ และ ดำบนพื้นขาว
การถ่ายภาพขาวดำที่มีโทนต่างกัน จะทำให้เกิด contrast ที่ทำให้มีมิติ
การถ่ายภาพขาวดำที่มีแสงและเงา จะทำให้ภาพไม่แบน

Arnold Newman จะมีแนวการถ่ายภาพคือ ถ่ายภาพให้เข้ากับอาชีพของบุคคลที่อยู่ในภาพนั้น


อ้างอิงจาก http://blog.ricecracker.net/tag/arnold-newman/

องค์ประกอบของภาพถ่าย
- Light and shade
- Contrast
- Tone
- Texture
- Shape and form
- 3 dimensions



วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Cameraman observation

cameraman observation
สังเกตุการณ์ช่างภาพ

       จากที่ข้าพเจ้าได้สังเกตุการณ์ช่างภาพในวันรับปริญญา ในการถ่ายภาพแต่ละภาพก็ต้องคิดว่าภาพที่ออกมาจะมีลักษณะแบบไหน หรือ แนวไหน ต้องหามุมที่เหมาะสม และมุมของคนที่ถูกถ่ายให้เหมาะสม เพื่อให้ถ่ายออกมาแล้วคนที่ถูกถ่ายดูดี องค์ประกอบสวย ช่างภาพที่ได้สังเกตการณ์ ก็จะแต่งตัวให้สบายๆ กระฉับกระเฉงง่าย เพราะต้องมีการเคื่อนไหว ย้ายที่ตลอดเวลา เพื่อหามุมกล้อง บางทีก็ต้องหามุมที่ยากแต่ภาพออกมาสวย มีการที่นอนลงไปกับพื้นแล้วถ่ายภาพ ทำให้เห็นว่าการเป็นช่างภาพนี่ต้องลงทุนเป็นอย่างมาก ในการถ่ายออกมาในมุมที่บางคนคิดไม่ถึงว่ามีมุมที่สวยๆ บางครั้งก็ต้องทนร้อน ถ่ายกลางแดด ทนรอเวลาที่แสงสวย และจังหวะที่เหมาะสม การควบคุมกล้องก็ต้องควบคุมให้นิ่งที่สุด บางครั้งก็ต้องใช้อุปกรณืเสริม คือ ขาตั้งกล้องเพื่อให้กล้องนิ่ง แต่ส่วนมากก็จะไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้องเพราะ เป็นภาพถ่ายบุคคล และเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย มุมกล้อง เลือกมุมที่ถ่ายออกมาแล้วดูดี ดูสวย ดูเป็นธรรมชาติ อาจมีมุมก้ม มุมเงย หรือมุมแปลกๆ ที่ช่างถ่ายภาพสร้างสรรค์ขึ้นมา และก็ก่อนมาถ่ายต้องเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณืให้พร้อม ตรวจเช็คอุปกรณ์ และที่สำคัญที่สุดก็คือความตรงต่อเวลา ต้องมาก่อนนัดหมาย การได้สังเกตกาณ์วันนั้นทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้มามากมายเกี่ยวกับการเป็นช่างถ่ายภาพที่ดีและ การถ่ายภาพในมุมมอง ต่างๆ
     ในการถ่ายภาพคนในสถานที่ที่คนมากๆ ก็ต้องใช้การละลายฉากหลังเป็นตัวช่วยในการทำให้บุคคลเด่นขึ้นมา แต่ในการหาฉากหลังก็ควรระวัง ฉากหลังที่มีเส้นนอน เส้นตรง และเส้นรูปทรงต่างๆ โดยพยายามอย่าให้อยู่ตรงศีรษะของบุคคลที่เราถ่ายภาพ ในการถ่ายหมู่หรือเดี่ยว ช่างภาพก็จะมีการสังเกตุให้ถ่ายได้ในมุมแบบธรรมชาติ บางทีก็ต้องมีการแอบถ่าย
      ภาพถ่ายแต่ละใบก่อนจะเป็นภาพที่สวยงาม ช่างถ่ายภาพก็ได้นับไปปรับแสง สี ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ก่อนจะล้างรูปออกมา





วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โหมดการวัดแสง(metering mode)

โหมดการวัดแสง(metering mode)

โหมดการวัดแสงจะเป็นการระบุค่าแสง การที่แสงแตกต่างกันจะวัดค่าความสว่างของวัตถุแตกต่างกันไป
โหมดการวัดแสงมีอยู่ 4 โหมด ดังนี้

- การวัดแสงแบบเฉลี่ยนทั้งภาพ (Evaluative metering) เป็นระบบวัดแสงรอบด้าน จะประเมินผลของการวิเคราะห์ค่าแสงทั่วทั้งภาพ ไม่ว่าจะเป็นฉากหน้าวัตถุ ฉากหลัง ทำใหไม่จำเป็นต้องกังวลโทนสีใดโทนสีหนึ่งในภาพ แนวทางของการใช้ระบบวัดแสงนี้ คือ ภาพทิวทัศน์หรือถาพบุคคลที่มีความเปรียบต่างของแสงน้อย

- การวัดแสงแบบเฉพาะส่วน (Partial metering) เป็นการวัดแสงเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่มีฉากหลังสว่างกว่าวัตถุ

- การวัดแสงเฉพาะจุด (Spot metering) ระบบจะเน้นเฉพาะจุดเล็กๆ ตรงกลางหรือวัตถุตรงกลางภาพเพื่อนำมาคำนวณค่าแสงเท่านั้น ระบบวัดแสงนี้มีความแม่นยำสูง แต่ก็มีโอกาสผิดพลาดได้เช่นกัน ถ้าพื้นที่ของวงกลมเล็กไปอยู่ในส่วนที่ไม่ต้องการ จะทำให้ค่าแสงผิดพลาดไปจากที่ต้องการ แนวทางในการใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุด เมื่อใดก็ตามที่องค์ประกอบต่างๆในภาพมีความต่างของแสงมาก การวัดแสงในระบบอื่นๆ อาจได้ผลผิดพลาดไม่แม่นยำ เนื่องจากมีความต่างของแสงหลายค่า แต่ก็มีข้อควรระวังในการวัดแสงนี้ คือ ต้องวัดแสงและคำนวณค่าแสงอย่างแม่นยำ มิฉะนั้นภาพที่ออกมาจะมีความผิดพลาด

- การวัดแสงเฉลี่ยหนักกลาง (Center-weighted metering) ระบบวัดแสงนี้จะทำงานโดนให้ความสำคัญกับโทนสีบริเวณตรงกลางภาพ มากกว่าบริเวณพื้นที่รอบๆ ผู้ถ่ายภาพที่ใช้ระบบวัดแสงนี้ก็จะพิจารณาเพียงโทนสี ซึ่งปรากฎอยู่ในวงกลมกลางภาพว่าเป็นโทนสีใดเท่านั้น แนวทางของการใช้ระบบวัดแสงนี้ คือ การถ่ายภาพใด้ๆ ที่วัตถุมีขนาดใหญ่พอสมควรและ ไม่อยุ่มรทิศทางย้อนแสงซึ่งมีความเปรียบต่างของแสงสูง

จากการทดลองได้ลดลอง 4 ช่วงเวลา ดังนี้
- เวลา 10.10 น.
- เวลา 10.25 น.
- เวลา 10.46 น.
- เวลา 11.00 น.

ตัวอย่างภาพจากการใช้โหมดวัดแสงแบบต่างๆ


การวัดแสงเฉลี่ยหนักกลาง (Center-weighted metering)


การวัดแสงแบบเฉลี่ยนทั้งภาพ (Evaluative metering)


การวัดแสงแบบเฉพาะส่วน (Partial metering)


 การวัดแสงเฉพาะจุด (Spot metering)


อ้างอิง

อำนวยพร บุญจำรัส.  THE ART OF PHOTOGRAPHY ศิลปะแห่งการถ่ายภาพ.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2553.  

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สมดุลแสงขาว(White Balance)

สมดุลแสงขาว(White Balance)

สมดุลแสงขาว จะช่วยให้บริเวณที่เป็นสีขาวของภาพยังคงความขาวอยู่เสมอ
โดยปกติการตั้งค่าอัตโนมัติ จะทำให้ได้สมดุลแสงขาวที่ถูกต้อง หากไม่สามารถสมดุลสีธรรมชาติได้
ก็สามารถเลือกตั้งค่าสมดุลสีขาวจากแหล่งที่ให้แสงที่แตกต่างกันออกไป
โดยกดปุ่ม WB เพื่อเลือกสมดุลแสงขาว โดยทั่วไปสามารถเลือกใช้คำสั่งปรับแก้สมดุลแสงขาวได้ ดังนี้

Auto White Balance การปรับแบบอัตโนมัติ
Daylight                   สภาพแสงกลางวัน ภายใต้แสงแดด
Cloudy                    สภาพกลางวันเมฆมาก
Shade                     สภาพกลางวันใต้ร่มเงา
Tungsten                 สภาพแสงหลอดไฟทังสเตน
Fluorescent             สภาพแสงหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์
Flash electronic       สภาพแสงน้อง ต้องการแฟรชเพิ่ม
Costom                  เลือกปรับด้วยตนเอง

ตัวอย่างภาพ


ภาพถ่ายภายใต้แสงหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์  ใช้คำสั่ง Auto White Balance


ภาพถ่ายภายใต้แสงหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์  แก้ไขภาพโดยใช้คำสั่ง Fluorescent


ภาพถ่ายภายใต้แสงหลอดไฟทังสเตน  ใช้คำสั่ง Auto White Balance


ภาพถ่ายภายใต้แสงหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์  แก้ไขภาพโดยใช้คำสั่ง Tungsten

          การเลือกปรับค่าไวท์บาลานซ์เอง ก็เพื่อเก็บสีสันให้ตรงกับความเป็นจริง หรือให้แน่ใจว่าสีที่ต้องชดเชยนั้นออกมาถูกต้อง เพราะบางครั้งการตั้งไวท์บาลานซ์ออโต้ก็ไม่ได้ทำให้ภาพถ่ายออกมาถูกต้อง 


อ้างอิง
อำนวยพร บุญจำรัส.  TIPS OF PHOTOGRAPHY สร้างสรรค์ภาพถ่ายอย่างมืออาชีพ.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น,          
                2555.   

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

assignment 19/06/2013

assignment 19/06/2013

1.


ภาพที่1.1



ภาพที่1.2


ภาพที่ความยาวโฟกัสขนาดของรูรับแสงระยะห่างจากวัตถุถึงเลนส์ลักษณะภาพวันที่บันทึกภาพเวลาที่บันทึกภาพ
2.118 mm6.36 cm.พื้นหลังเบลอมากกว่า24/06/1314.02
2.218 mm116 cm.พื้นหลังมีความคมชัดกว่า24/06/1314.02


2.


ภาพที่2.1





ภาพที่ 2.2



ภาพที่ ความยาวโฟกัส ขนาดของรูรับแสง ระยะห่างจากวัตถุถึงเลนส์ ลักษณะภาพ วันที่บันทึกภาพ เวลาที่บันทึกภาพ
2.1 55 mm 8 7 cm. พื้นหลังเบลอมากขึ้น 24/06/13 13.50 
2.2 18 mm 8 7 cm. พื้นหลังมีความคมชัดกว่า 24/06/13 13.49 


3.

ภาพที่ 3.1


ภาพที่ 3.2

ภาพที่ความยาวโฟกัสขนาดของรูรับแสงระยะห่างจากวัตถุถึงเลนส์ลักษณะภาพวันที่บันทึกภาพเวลาที่บันทึกภาพ
3.135 mm7.179 cm.ภาพโดยรวมมีความชัดใกล้เคียงกัน24/06/1313.07 
3.235 mm7.119 cm.พื้นหลังของภาพเบลอมากขึ้น24/06/1313.08 

                           ภาพชัดตื้นเป็นภาพที่มีพื้นที่จุดโฟกัสครอบคลุมไม่มาก ส่วนภาพชัดตื้นเป็นภาพที่มีจุดโฟกัสควบคุมอยู่กว้างกว่า ภาพชัดตื้นและภาพชัดลึกเกิดได้จาก ขนาดของรูรับแสง ดังภาพที่1.1และภาพที่1.2 ขนาดของรูรับแสงที่กว้างก็ได้จะภาพชัดตื้น ขนาดของรูรับแสงยิ่งกว้างเท่าใดระยะความชัดตื้นก็จะเพิ่มขึ้น  ความยาวโฟกัส ดังภาพที่ 2.1และ2.2 ยิ่งขนาดความยาวโฟกัสมากเท่าใด ยิ่งส่งผลต่อระยะความชัดตื้น และ  ระยะห่างจากเลนส์ถึงวัตถุ ดังภาะที่3.1และ3.2 ยิ่งถ่ายภาพด้วยระยะใกล้วัตถุเท่าใดความชัดตื้นของภาพก็จะยิ่งมากขึ้น