วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Cameraman observation

cameraman observation
สังเกตุการณ์ช่างภาพ

       จากที่ข้าพเจ้าได้สังเกตุการณ์ช่างภาพในวันรับปริญญา ในการถ่ายภาพแต่ละภาพก็ต้องคิดว่าภาพที่ออกมาจะมีลักษณะแบบไหน หรือ แนวไหน ต้องหามุมที่เหมาะสม และมุมของคนที่ถูกถ่ายให้เหมาะสม เพื่อให้ถ่ายออกมาแล้วคนที่ถูกถ่ายดูดี องค์ประกอบสวย ช่างภาพที่ได้สังเกตการณ์ ก็จะแต่งตัวให้สบายๆ กระฉับกระเฉงง่าย เพราะต้องมีการเคื่อนไหว ย้ายที่ตลอดเวลา เพื่อหามุมกล้อง บางทีก็ต้องหามุมที่ยากแต่ภาพออกมาสวย มีการที่นอนลงไปกับพื้นแล้วถ่ายภาพ ทำให้เห็นว่าการเป็นช่างภาพนี่ต้องลงทุนเป็นอย่างมาก ในการถ่ายออกมาในมุมที่บางคนคิดไม่ถึงว่ามีมุมที่สวยๆ บางครั้งก็ต้องทนร้อน ถ่ายกลางแดด ทนรอเวลาที่แสงสวย และจังหวะที่เหมาะสม การควบคุมกล้องก็ต้องควบคุมให้นิ่งที่สุด บางครั้งก็ต้องใช้อุปกรณืเสริม คือ ขาตั้งกล้องเพื่อให้กล้องนิ่ง แต่ส่วนมากก็จะไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้องเพราะ เป็นภาพถ่ายบุคคล และเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย มุมกล้อง เลือกมุมที่ถ่ายออกมาแล้วดูดี ดูสวย ดูเป็นธรรมชาติ อาจมีมุมก้ม มุมเงย หรือมุมแปลกๆ ที่ช่างถ่ายภาพสร้างสรรค์ขึ้นมา และก็ก่อนมาถ่ายต้องเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณืให้พร้อม ตรวจเช็คอุปกรณ์ และที่สำคัญที่สุดก็คือความตรงต่อเวลา ต้องมาก่อนนัดหมาย การได้สังเกตกาณ์วันนั้นทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้มามากมายเกี่ยวกับการเป็นช่างถ่ายภาพที่ดีและ การถ่ายภาพในมุมมอง ต่างๆ
     ในการถ่ายภาพคนในสถานที่ที่คนมากๆ ก็ต้องใช้การละลายฉากหลังเป็นตัวช่วยในการทำให้บุคคลเด่นขึ้นมา แต่ในการหาฉากหลังก็ควรระวัง ฉากหลังที่มีเส้นนอน เส้นตรง และเส้นรูปทรงต่างๆ โดยพยายามอย่าให้อยู่ตรงศีรษะของบุคคลที่เราถ่ายภาพ ในการถ่ายหมู่หรือเดี่ยว ช่างภาพก็จะมีการสังเกตุให้ถ่ายได้ในมุมแบบธรรมชาติ บางทีก็ต้องมีการแอบถ่าย
      ภาพถ่ายแต่ละใบก่อนจะเป็นภาพที่สวยงาม ช่างถ่ายภาพก็ได้นับไปปรับแสง สี ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ก่อนจะล้างรูปออกมา





วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โหมดการวัดแสง(metering mode)

โหมดการวัดแสง(metering mode)

โหมดการวัดแสงจะเป็นการระบุค่าแสง การที่แสงแตกต่างกันจะวัดค่าความสว่างของวัตถุแตกต่างกันไป
โหมดการวัดแสงมีอยู่ 4 โหมด ดังนี้

- การวัดแสงแบบเฉลี่ยนทั้งภาพ (Evaluative metering) เป็นระบบวัดแสงรอบด้าน จะประเมินผลของการวิเคราะห์ค่าแสงทั่วทั้งภาพ ไม่ว่าจะเป็นฉากหน้าวัตถุ ฉากหลัง ทำใหไม่จำเป็นต้องกังวลโทนสีใดโทนสีหนึ่งในภาพ แนวทางของการใช้ระบบวัดแสงนี้ คือ ภาพทิวทัศน์หรือถาพบุคคลที่มีความเปรียบต่างของแสงน้อย

- การวัดแสงแบบเฉพาะส่วน (Partial metering) เป็นการวัดแสงเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่มีฉากหลังสว่างกว่าวัตถุ

- การวัดแสงเฉพาะจุด (Spot metering) ระบบจะเน้นเฉพาะจุดเล็กๆ ตรงกลางหรือวัตถุตรงกลางภาพเพื่อนำมาคำนวณค่าแสงเท่านั้น ระบบวัดแสงนี้มีความแม่นยำสูง แต่ก็มีโอกาสผิดพลาดได้เช่นกัน ถ้าพื้นที่ของวงกลมเล็กไปอยู่ในส่วนที่ไม่ต้องการ จะทำให้ค่าแสงผิดพลาดไปจากที่ต้องการ แนวทางในการใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุด เมื่อใดก็ตามที่องค์ประกอบต่างๆในภาพมีความต่างของแสงมาก การวัดแสงในระบบอื่นๆ อาจได้ผลผิดพลาดไม่แม่นยำ เนื่องจากมีความต่างของแสงหลายค่า แต่ก็มีข้อควรระวังในการวัดแสงนี้ คือ ต้องวัดแสงและคำนวณค่าแสงอย่างแม่นยำ มิฉะนั้นภาพที่ออกมาจะมีความผิดพลาด

- การวัดแสงเฉลี่ยหนักกลาง (Center-weighted metering) ระบบวัดแสงนี้จะทำงานโดนให้ความสำคัญกับโทนสีบริเวณตรงกลางภาพ มากกว่าบริเวณพื้นที่รอบๆ ผู้ถ่ายภาพที่ใช้ระบบวัดแสงนี้ก็จะพิจารณาเพียงโทนสี ซึ่งปรากฎอยู่ในวงกลมกลางภาพว่าเป็นโทนสีใดเท่านั้น แนวทางของการใช้ระบบวัดแสงนี้ คือ การถ่ายภาพใด้ๆ ที่วัตถุมีขนาดใหญ่พอสมควรและ ไม่อยุ่มรทิศทางย้อนแสงซึ่งมีความเปรียบต่างของแสงสูง

จากการทดลองได้ลดลอง 4 ช่วงเวลา ดังนี้
- เวลา 10.10 น.
- เวลา 10.25 น.
- เวลา 10.46 น.
- เวลา 11.00 น.

ตัวอย่างภาพจากการใช้โหมดวัดแสงแบบต่างๆ


การวัดแสงเฉลี่ยหนักกลาง (Center-weighted metering)


การวัดแสงแบบเฉลี่ยนทั้งภาพ (Evaluative metering)


การวัดแสงแบบเฉพาะส่วน (Partial metering)


 การวัดแสงเฉพาะจุด (Spot metering)


อ้างอิง

อำนวยพร บุญจำรัส.  THE ART OF PHOTOGRAPHY ศิลปะแห่งการถ่ายภาพ.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2553.